วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

งานกลุ่ม 2 VIDEO


                                                                         งานชิ้นที่ 2

http://www.youtube.com/watch?v=FqQoP8ctp-k




งานเดี่ยว 4 โคโยตี้



พูดแสดงความคิดเห็นจากเพลง โคโยตี้ค่ะพี่




งานเดี่ยว 3 Quiz


ทดสอบในชั่่วโมงเรียน





งานเดี่ยว 1 fry's readability

                                                   Fry's   raedability



วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

งานกลุ่ม 1 SOUND


งานชิ้นที่ 1  SOUND


ความประทับใจ


 
ความประทับใจ
ที่ได้มาเรียน ป.โท ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง(หัวหมาก)

            โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ สพฐ.รุ่น 2  ทำให้พวกเราได้มาพบกัน
เกือบสองปีที่วันหยุดเสาร์อาทิตย์ต้องเดินทางมาเรียนในห้องเรียนตั้งแต่เช้าจนเย็น  เหนื่อยนะแต่เวลามันช่างผ่านไปรวดเร็ว  ถึงวันนี้เรากำลังจะสำเร็จการศึกษา  ดีใจแต่ก็ใจหายเหมือนกันเพราะบรรยากาศในห้องเรียนก็จะไม่มีอีกแล้ว
            จะเก็บความรู้สึกที่ดี  จดจำครูต้นแบบที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เป็นแม่ครูพ่อครูตัวจริง  ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ถูกต้องและชัดเจนแก่ศิษย์ซึ่งสามารถนำไปใช้ที่โรงเรียนได้  และ
ความน่ารักของเพื่อน สพฐ. 2 ทุกคน  โดยเฉพาะเพื่อน ๆ ในกลุ่มสัตตบงกชที่น่ารักของฉัน
 
วิชาที่ 1  TT500  ภาษาอังกฤษสำหรับการสอน 
            รศ.รัตนวดี  โชกติกพนิช    อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  พูดไพเราะ  อาจารย์น่ารักมาก ทั้งสวยและเก่งมาก ๆ


          รศ.ระวิวรรณ    ศรีคร้ามครัน  อาจารย์สอนแบบห้าว ๆ เสียงดัง แต่เข้าใจมากเลย  อาจารย์น่ารักมาก  สวยอีกด้วย
วิชาที่ 2  RU 603 บัณฑิตศึกษา 
เรียนรวมกันกับวิชาเอกอื่น พบท่าน ศ.ดร.รังสรรค์   แสงสุข   ได้หัวเราะแก้มปริ  ท่านให้ความรู้คู่คุณธรรม
วิชาที่ 3 EF 603  ปรัชญาการศึกษา    

รศ.ดร.นวลละออง  แสงสุข 
            ท่านอาจารย์ใจดีมาก ๆ สอนดี ถึงแม้เป็นวิชาที่ยาก แต่ได้เกรด ฉันดีใจมากเลย
 วิชาที่ 4 MR  689  วิจัยและสถิติทางการศึกษา


รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี พันธุ์ไทย
                วิชานี้เป็นอีกวิชาที่ฉันงงงง  แต่เวลาเรียนก็มีความสุข  เพราะอาจารย์เก่ง   หน้าตาคล้ายมิสเตอร์บีน
แต่เกรดออกมาถึงกับอึ้ง  เพราะได้เกรด B   ไม่รู้ว่า ธรรมดา  ๆ  หรือ B ถีบ กันแน่วิชานี้

วิชาที่ 5  TT 635  วรรณคดีมรดกไทยสำหรับครู
            เรียนกับ รศ.จุไรรัตน์  ลักษณะศิริ และผศ.ชุมสาย  สุวรรณชมพู  ได้ความรู้ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับไตรภูมิพระร่วง  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  อย่างมาก ๆ อาจารย์ทั้งสองท่านเป็นผู้จำเรื่องราวต่าง ๆ และจำบทกลอนในเนื้อเรื่องได้อย่างน่าชื่นชม  แต่วิชานี้ขอบอก...งานเยอะมาก ๆ
วิชาที่ 6  RU 600  ความรู้คู่คุณธรรม
                เรียนกับท่าน  รศ.นพคุณ  คุณาชีวะ และคณะ  ท่านจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยมจริง ๆ  
ก่อนเรียนฉันคิดว่าวิชานี้คงน่าเบื่อ  นั่งฟังอย่างเดียว  แต่พอเรียนรู้สึกสนุกมาก กิจกรรมที่ได้ทำทุกกิจกรรมสอดแทรกข้อคิดและคุณธรรมโดยที่ให้พวกนักศึกษาสรุปข้อคิดที่ได้และฝึกให้ทุกคนกล้าแสดงออก
วิชาที่ 7  TT 633  การพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย
                เรียนกับ ผศ.อดุลย์  ไทรเล็กทิม  ท่านเป็นผู้ที่มีความเป็นระเบียบและเข้มงวดกับพวกเรา  เพราะท่านเป็นที่ปรึกษา วิชานี้ท่านให้แต่งกายให้เรียบร้อย และติดป้ายชื่อทุกคน
วิชาที่ 8  TT 613  ภาษาไทยสำหรับครู
                ท่าน รศ.นพคุณ  คุณาชีวะ  เป็นผู้สอนเรื่องหลักภาษาไทยที่ชัดเจน  ถูกต้อง ฉันรักและชอบอาจารย์มากเลยท่านเป็นครูของครูจริง ๆ ไม่เคยตำหนิแต่ท่านจะสอนสิ่งที่ถูกต้องให้เมื่อทำผิด  วิชานี้ฉันภูมิใจมาก
ที่เป็นครูภาษาไทยและได้เกรด A วิชานี้


วิชาที่ 9  TT 615  ศิลปะการประพันธ์เพื่อการสอน
                ฉันกลัวว่าจะต้องแต่งกลอน  ต่าง ๆ ในวิชานี้  เพราะไม่ค่อยถนัด  แต่เมื่อได้เรียนกับท่านรศ.ประทีป  วาทิกทินกร  รู้สึกท่านอาจารย์เป็นกันเองมาก  ชอบนำรูปถ่ายเก่าของบุคคลที่ท่านกล่าวถึงมาฉายให้ดู  และสอนศิลปะการประพันธ์ที่ง่าย  นำไปปฏิบัติได้ และที่สำคัญท่านสอนให้เรารักมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสถาบันพระมหากษัตริย์ 
  
วิชาที่ 10  TT 634  ทฤษฎีและวิธีสอนภาษาไทย
                วิชานี้เรียนกับอาจารย์ 3 ท่าน  3 สไตล์  แต่ท่านเก่งทุกคนเลย 
                ท่านแรก รศ.ดร.อรนุช  ลิมตศิริ  ท่านให้ทำ  Picture  Frame 
                ท่านที่ สอง รศ. สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์   สอนสนุกมีมุขตลอด  ท่านให้ทำเว็บใยแมงมุม
                ท่านที่สาม อ. ขัณธ์ชัย  อธิเกียรติ   ท่านสอนสนุก  มีเกม  มีวิธีสอนภาษาไทยที่สนุก  ไม่เครียด
ไม่ง่วง  เรียนอย่างมีความสุขมาก อยากทำได้เหมือนอาจารย์  เด็ก ๆ จะได้รักวิชาภาษาไทย และไม่เบื่อวิชานี้
ชอบอาจารย์มากเลยค่ะ  
วิชาที่ 11 TT 643  การพัฒนานวัตกกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย
วิชาที่ 12  TT 646  วิจัยในชั้นเรียน
วิชาที่ 13  TT 653  สัมมนาการเรียนการสอนภาษาไทย 
วิชาที่ 14  TT 674  การศึกษาอิสระ  
กว่าจะทำเล่มส่ง ก็เครียดมาก ๆ เพราะทำเกือบไม่ทัน
วิชาที่ 15 TT 645  การประเมินผลการเรียนการสอนภาษาไทย
                 ได้รวมกลุ่มสัตตบงกช  กิน  นอน  ด้วยกัน ก็มาถ่ายทำ วิดีโอ  วิชาของ อ.ดุลย์  ไทรเล็กทิม นี่แหละ  และทำบล็อกเป็นก็วิชาของ อ.อดุลย์อีกนั่นแหละ  ขอบคุณมากค่ะที่ทำให้เรากระตือรือร้น พัฒนาตนเอง
            ดีใจที่เรียนมาถึงวันนี้  แต่ก็เริ่มจะใจหายที่จะไม่มีบรรยากาศมานั่งเรียนในห้องเรียนและต้องจากเพื่อน ๆ ที่มาเรียนด้วยกัน ทั้งที่สนิท  เริ่มสนิท และยังไม่ค่อยสนิท
         


งานเดี่ยว 2 ข้อสอบ


การวิเคราะห์ข้อสอบ  ( Item  Analysis Test )

          การวิเคราะห์ข้อสอบ  ( Item  Analysis Test )
1. ข้อสอบ  10  ข้อ
ข้อสอบวัดผลปลายภาคเรียน        ภาคเรียนที่ 2                   ปีการศึกษา  2555
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4           โรงเรียนพัฒนานิคม                      จังหวัดลพบุรี
 วิชา ภาษาไทย 2(ท31102)   จำนวน  42  ข้อ 30 คะแนน                เวลา 60 นาที     
4.1 ม.4-6/3 ใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาส กาลเทศะและบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม (ข้อ 1-10)
1. ข้อใดเป็นคำนามราชาศัพท์ทุกคำ   (ความรู้ ความจำ )
             ก. ทรงดนตรี          ฉลองพระองค์
             ข. พระหทัย        ช้างต้น
             ค. ทอดพระเนตร   ฉลองพระบาท
             ง. ทรงเครื่อง       ประทาน
2. ข้อใดไม่ใช่คำนามราชาศัพท์                (ความรู้ ความจำ )
             ก. พระสุธารสชา           
             ข. พระสาง
             ค. พระราชทาน           
             ง. พระเก้าอี้
3. ข้อใดจับคู่คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง           (ความรู้ ความจำ )
             ก. พระวิสูตร  -  ผ้าห่ม       
             ข. พระปรอท  -  ไข้
             ค. พระชานุ  -  เข่า        
             ง. พระอุระ  -  อก
4. สรรพนามบุรุษที่ 1  ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ  และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง 
    ใช้คำว่าอะไร                        (ความรู้ ความจำ )
             ก. เกล้ากระหม่อม      
             ข. ข้าพระพุทธเจ้า
             ค. กระหม่อม            
             ง. ข้าพเจ้า
5. ข้อใดมีคำสรรพนามราชาศัพท์ครบทั้ง 3 ชนิด  ได้แก่  สรรพนามบุรุษที่ 1  สรรพนามบุรุษที่  2 และ
    สรรพนามบุรุษที่ 3           (ความรู้ ความจำ )
             ก. ข้าพระพุทธเจ้า  ใต้ฝ่าพระบาท   พระองค์   
             ข. ข้าพระพุทธเจ้า  พระองค์      พระพุทธเจ้าข้า
             ค. เกล้ากระหม่อม ฝ่าพระบาท    ขอเดชะ                       
             ง. เกล้ากระหม่อม ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม
6.  ในการแต่งบทอาเศียรวาทสดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ควรลงท้ายคำประพันธ์ที่แต่งจบแล้วด้วย
คำราชาศัพท์ใด      (ความรู้ ความจำ )
             ก. ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
             ข. ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
             ค. พระพุทธเจ้าข้า  ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
             ง. ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
7.  ถ้านักเรียนจะกราบบังคมทูลขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้คำแนะนำ จะต้องใช้คำในข้อใด    
     (ความรู้ ความจำ )
             ก. ขอพระราชทานกระแสพระราชดำรัส
             ข. ขอพระราชทานพระบรมราชโองการ
             ค. ขอพระราชทานพระบรมราโชวาท
             ง. ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส
8. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.......ปีใหม่แก่ประชาชนชาวไทย”  ควรเติมคำใดจึงจะถูกต้อง
     (ความรู้ ความจำ )
             ก. ให้พร           
             ข. ทรงให้พร
             ค. ทรงพระราชทานพร       
             ง.   พระราชทานพร
9.  ข้อใดใช้คำว่า  ทรง  ได้ถูกต้อง          (ความรู้ ความจำ )
             ก. ทรงเสด็จ           
             ข. ทรงตรัส
             ค. ทรงเสวย            
             ง. ทรงวาด
10.  ข้อใดให้ความหมายไม่ถูกต้อง                 (ความรู้ ความจำ )
             ก. ทรงพระสรวล    หมายถึง  หัวเราะ
             ข. ทรงพระสุบิน      หมายถึง  โกรธ
             ค. ทรงพระบรรทม  หมายถึง  นอน
             ง. ทรงพระอักษร   หมายถึง  เขียน
           

สรุป  ข้อสอบ  10  ข้อนี้  เป็นข้อสอบวัดความรู้ระดับขั้น ความรู้ ความจำทั้ง 10  ข้อ


2.  ตารางกลุ่มคะแนนของผู้เข้าสอบทั้งหมด  40  คน 

                        9          9          9          9          9          9          8          8          8          8         
8          8          8          8          8          8          7          7          7          7
7          7          7          6          6          6          6          6          6          6
5          5          5          5          5          5          4          4          4          4

3.  ตารางค่า  H            L          p          r         q          pq
ข้อ
H
L
p
r
q
pq
1
17
9
.65
.40
.35
.2275
2
18
11
.73
.35
.27
.1971
3
19
17
.90
.10
.10
.0900
4
20
10
.75
.50
.25
.1875
5
16
7
.58
.45
.42
.2436
6
13
9
.55
.20
.45
.2475
7
16
13
.73
.15
.27
.1971
8
6
5
.28
.05
.72
.2016
9
19
12
.78
.35
.22
.1716
10
17
16
.83
.05
.17
.1411
<!--[if !vml]--><!--[endif]--> 
1.9046
จากตาราง  พบว่า  ข้อสอบมีความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง .28 - .90 และมีค่าอำนาจจำแนก (r)
อยู่ระหว่าง .05 - .45

ตารางคะแนนกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำทั้งหมด
H
X
X2
L
X
X2
1
9
81
1
7
49
2
9
81
2
7
49
3
9
81
3
7
49
4
9
81
4
6
36
5
9
81
5
6
36
6
9
81
6
6
36
7
8
64
7
6
36
8
8
64
8
6
36
9
8
64
9
6
36
10
8
64
10
6
36
11
8
64
11
5
25
12
8
64
12
5
25
13
8
64
13
5
25
14
8
64
14
5
25
15
8
64
15
5
25
16
8
64
16
5
25
17
7
49
17
4
16
18
7
49
18
4
16
19
7
49
19
4
16
20
7
49
20
4
16



























    





5.  สรุปข้อสอบ
            ข้อสอบชุดนี้มีจำนวนข้อสอบทั้งหมด 10 ข้อ เป็นข้อสอบวัดความรู้ความจำทั้ง  10 ข้อ 
มีความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง .28 - .90 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง .05 - .45
 และ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.28   เมื่อพิจารณาค่า p ที่ต้องมีค่าระหว่าง .20 - .80 และค่าอำนาจจำแนก
ต้องมีค่ามากกว่า .20  ปรากฏว่า ข้อสอบชุดนี้มีข้อสอบที่ใช้ได้ 6 ข้อ คือ ข้อ  1, 2, 4, 5, 6, และ 9  
ข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ 4 ข้อ  คือ ข้อ 3  มีค่าความยาก = .90  ค่าอำนาจจำแนก =.10
                                                    ข้อ 7  มีค่าความยาก = .73  ค่าอำนาจจำแนก =.15
                                                    ข้อ 8  มีค่าความยาก = .28  ค่าอำนาจจำแนก =.05
                                                    และ ข้อ 10 มีค่าความยาก =.83  ค่าอำนาจจำแนก = .05


6.  การวิเคราะห์ตัวเลือก

ข้อ
โจทย์/ตัวเลือก
จำนวนผู้ตอบ
หมายเหตุ
H
L
3
ข้อใดจับคู่คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง




ก.  พระวิสูตร  -  ผ้าห่ม
19
17
p =.90

ข.  พระปรอท  -  ไข้
1
1
r = .10

ค.  พระชานุ  -  เข่า                          
-
-


ง.  พระอุระ  -  อก
-
2


ความหมาย
            ข้อ 3 มีค่า  p = .90  ค่า   r = .10  แสดงว่าข้อสอบมีลักษณะง่ายมาก  ไม่สามารถจำแนกเด็กกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนได้ 
                เมื่อพิจารณาตัวเลือก  ตัวเลือกข้อ  ก ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แต่มีผู้ตอบทั้งกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ เลือกมาก  ไม่สามารถแยกเด็กเก่งและเด็กอ่อนได้  ข้อ ข มีผู้ตอบกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำเลือกบ้าง ข้อ ค ผู้ตอบทั้งกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำไม่เลือกเลย ข้อ ง กลุ่มต่ำเลือกบ้าง ดังนั้นจึงควรปรับปรุงตัวเลือก  ข้อ ก และ ค เพื่อเป็นการกระจายค่าความยากง่าย และ ค่าอำนาจจำแนก และเป็นข้อสอบที่ดีที่ใช้ได้  ดังนี้
                ข้อใดจับคู่คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง
       ก. พระวักกะ  -  ตับ                                          
       ข. พระปรอท  -  ไข้
       ค. พระยกนะ  -  ตับ                                          
       ง. พระอุระ  -  อก
  

ข้อ
โจทย์/ตัวเลือก
จำนวนผู้ตอบ
หมายเหตุ
H
L
8
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...............ปีใหม่
แก่ประชาชนชาวไทย”  ควรเติมคำใดจึงจะถูกต้อง    




ก. ให้พร                                               
-
-
p = .28

ข. ทรงให้พร
2
2
r = .05

ค. ทรงพระราชทานพร                    
12
13


ง.  พระราชทานพร
6
5


ความหมาย
            ข้อ 8 มีค่า  p =.28  ค่า   r = .05  แสดงว่าข้อสอบมีลักษณะยาก  ไม่สามารถจำแนกเด็กกลุ่มเก่งและ         กลุ่มอ่อนได้ 
                เมื่อพิจารณาตัวเลือก  ตัวเลือกข้อ ง  ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง มีผู้ตอบเลือกบ้างทั้งกลุ่ม H และ กลุ่ม L แต่ส่วนใหญ่ผู้ตอบเลือก ข้อ ค ซึ่งไม่ใช่ข้อถูก  แสดงว่าตัวเลือกลวงผู้ตอบได้แต่ไม่สามารถแยกกลุ่มเด็กกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนได้  ส่วนตัวเลือกข้อ  ก  เป็นตัวเลือกที่ไม่มีผู้เลือก  แสดงว่าเป็นตัวเลือกที่ไม่ดี ไม่สามารถลวงผู้ตอบได้เช่นกัน  ดังนั้นข้อสอบข้อ 8 นี้ จึงควรปรับปรุงตัวเลือก ทั้ง 2 ข้อ คือ
ข้อ ก  และ ข้อ ค  เพื่อให้เป็นข้อสอบที่ดี มีค่าความยาก และ ค่าอำนาจจำแนกที่ใช้ได้  ดังนี้
               
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...............ปีใหม่แก่ประชาชนชาวไทย”  ควรเติมคำใด
จึงจะถูกต้อง
       ก. ทรงอวยพร                                                     
       ข. ทรงให้พร
       ค. ถวายพระพร                                  
       ง. พระราชทานพร            





ข้อ
โจทย์/ตัวเลือก
จำนวนผู้ตอบ
หมายเหตุ
H
L
10
ข้อใดให้ความหมายไม่ถูกต้อง




ก. ทรงพระสรวล    หมายถึง  หัวเราะ
2
3
p = .83

ข. ทรงพระสุบิน      หมายถึง  โกรธ
17
16
r = .05

ค. ทรงพระบรรทม  หมายถึง  นอน
-
-


ง. ทรงพระอักษร   หมายถึง  เขียน
1
1


ความหมาย
            ข้อ 10 มีค่า  p =.83  ค่า   r = .05  แสดงว่าข้อสอบมีลักษณะง่ายมาก  ไม่สามารถจำแนกเด็ก  กลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนได้ 
                เมื่อพิจารณาตัวเลือก  ตัวเลือกข้อ ข  ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง  มีผู้ตอบเลือกมากทั้งกลุ่ม H และ กลุ่ม L แสดงว่า ตัวเลือกง่ายมาก ไม่สามารถลวงผู้ตอบได้ จึงมีผู้ตอบมาก   ส่วนตัวเลือกข้อ  ค เป็นตัวเลือกที่ไม่มีผู้เลือก  แสดงว่าเป็นตัวเลือกที่ไม่ดี ไม่สามารถลวงผู้ตอบได้เช่นกัน             ดังนั้นข้อสอบข้อ 10  นี้ จึงควรปรับปรุงตัวเลือก  คือ ข้อ ข  และข้อ ค   แต่ทั้งนี้เพื่อให้เป็นข้อสอบที่ดี มีค่าความยาก และ ค่าอำนาจจำแนกที่ใช้ได้  จึงปรับปรุงทั้ง 4 ตัวเลือก ดังนี้

             ข้อใดให้ความหมายไม่ถูกต้อง
       ก. พระบรมสาทิสลักษณ์    หมายถึง  รูปวาดของพระมหากษัตริย์
       ข. ราชอาคันตุกะ      หมายถึง  รับเชิญเป็นแขกของประธานาธิบดี
       ค. ลายพระหัตถ์  หมายถึง  จดหมายของสมเด็จพระสังฆราช
       ง. พระราโชวาท    หมายถึง  โอวาทของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ